กันยายน 12, 2024

“ความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป”

​ สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป”ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1–8 เมษายน 2567 จากประชาชนผู้ใช้รถยนต์สันดาปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปกระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,330 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “สยามเทคโนโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และโปรแกรม Google Form โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.00

​ จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้รถยนต์สันดาป ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป เกี่ยวกับความสนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์สันดาป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 77.74 ระบุว่า สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคต มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 22.26 ระบุว่า ไม่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคต โดยกลุ่มที่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคต ร้อยละ 73.14 ระบุว่า สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากราคาค่าชาร์จไฟฟ้าที่ถูกกว่าราคาน้ำมัน ร้อยละ 14.52 ระบุว่า สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์สันดาป และร้อยละ 12.34 ระบุว่า สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในขณะที่กลุ่มที่ไม่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคต ร้อยละ 55.24 ระบุว่า ไม่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากไม่มั่นใจในระบบความปลอดภัย รองลงมา ร้อยละ 22.16 ระบุว่า ไม่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากสถานีที่ชาร์จไฟฟ้ามีจำนวนน้อย ร้อยละ 14.66 ระบุว่า ไม่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากกังวลเรื่องระยะเวลาชาร์จที่นาน และร้อยละ 6.94 ระบุว่า ไม่สนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเนื่องจากค่าภาษีรถยนต์และค่าประกันภัยที่สูงกว่ารถยนต์สันดาป

​ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้รถยนต์สันดาปที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ในกลุ่มผู้สนใจจะซื้อรถไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเกี่ยวกับประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการซื้อมากที่สุด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 63.22 ระบุว่า ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการซื้อมากที่สุดคือ รถยนต์ไฟฟ้า 100 % (BEV)รองลงมา ร้อยละ 24.32 ระบุว่า ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการซื้อมากที่สุดคือ รถไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEV) และร้อยละ 12.46 ระบุว่า ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องการซื้อมากที่สุดคือ รถไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV)

​ ท้ายที่สุดเมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้รถยนต์สันดาปที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ในกลุ่มผู้สนใจจะซื้อรถไฟฟ้ามาใช้ในอนาคตเกี่ยวกับรูปแบบของรถยนต์ไฟฟ้าที่ท่านอยากเป็นเจ้าของมากที่สุด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 65.44 ระบุว่า รูปแบบของรถยนต์ไฟฟ้าที่อยากเป็นเจ้าของมากที่สุดคือ รถยนต์ซีดาน รองลงมา ร้อยละ 22.36 ระบุว่า รูปแบบของรถยนต์ไฟฟ้าที่อยากเป็นเจ้าของมากที่สุดคือ รถยนต์อเนกประสงค์ (SUV) ร้อยละ 8.52 ระบุว่า รูปแบบของรถยนต์ไฟฟ้าที่อยากเป็นเจ้าของมากที่สุดคือ รถกระบะและ และร้อยละ 3.68 ระบุว่า รูปแบบของรถยนต์ไฟฟ้าที่อยากเป็นเจ้าของมากที่สุดคือ รถยนต์อเนกประสงค์

​ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 11.05 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 10.38 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 15.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.53 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 18.12 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 10.98 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 50.30เป็นเพศชาย และร้อยละ 49.70 เป็นเพศหญิง

​ ตัวอย่าง ร้อยละ 18.95 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 15.71 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 17.29 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 21.88 อายุ 46-55 ปี ร้อยละ 16.32 อายุ 56-65 ปี และร้อยละ 9.85 อายุ 65 ปี ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.49 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.33 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 2.18 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ 

​ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.49 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.53 สถานภาพสมรส และร้อยละ 10.98 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 19.47จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 43.31 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.89 จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.38 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.95 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 

​ ตัวอย่าง ร้อยละ 10.45 มีอาชีพหลักข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 24.14 มีอาชีพหลักพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.95 มีอาชีพหลักเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.05 มีอาชีพหลักเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 22.63 มีอาชีพหลักรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน และร้อยละ 9.77 มีอาชีพหลักพ่อบ้าน/แม่บ้าน/ว่างงาน

​ ตัวอย่าง ร้อยละ 20.23 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.91มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ26.54 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.60 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 6.47 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.16 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.10 ไม่ระบุรายได้

สำหรับความเห็นของ อาจารย์เลอชัย กิรสมุทรานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานและโลจิสติกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ให้ความเห็นเพิ่มเติมในกรณีนี้ว่า ในปัจจุบันเทรนด์รถไฟฟ้าถือว่ามาแรงอย่างมาก เนื่องจากราคาของรถยนต์ไฟฟ้าไม่แตกต่างกับรถยนต์สันดาป ราคาของเชื้อเพลิงที่ต่ำ การบำรุงรักษาค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับรถสันดาป และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในสภาวะสังคมที่มีค่าครองชีพสูง ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากเมื่อเทียบกับรถสันดาป แต่ยังคงต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ในระยะยาวในเรื่องของความเสถียรภาพของระบบขับขี่ การขยายตัวของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และเวลาในการชาร์จต่อหนึ่งรอบสำหรับการเดินทาง เพื่อเพิ่มความมั่นใจและตอบสนองให้ทันการเติบโตของผู้ใช้งาน